ข่าวสารดีๆจาก BSU

มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ของผู้ที่ไปดูงานที่เยอรมันท่านหนึ่ง และคิดว่าอยากจะแชร์ให้หลายๆท่านได้อ่านกันครับ...

      เยอรมันนี เป็นประเทศซึ่งพัฒนาอุตสาหกรรมไปไกลแล้ว ประเทศนี้เป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นนำอย่างเช่น เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู ซีเมนส์ เป็นต้น

      ปั๊มพ์ที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตขึ้นในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่งของประเทศนี้ ในประเทศซึ่งมีการพัฒนาไปไกลเช่นนี้ คนส่วนใหญ่คงคิดว่าประชาชนชาวเยอรมันคงใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย อย่างน้อย นั่นเป็น ความรู้สึกของผมก่อนเดินทางไปศึกษาดูงานที่นั่น เมื่อผมเดินทางถึงฮัมบูร์ก เพื่อนร่วมชาติซึ่งทำงานอยู่ที่นั่นจัดให้มีการเลี้ยงต้อนรับผมที่ภัตตาคาร ขณะที่เราเดินเข้าไปในภัตตาคาร เราพบว่าโต๊ะจำนวนมากว่างอยู่ มี โต๊ะหนึ่งมีหนุ่มสาวคู่หนึ่งกำลังนั่งกินอาหารกันอยู่ บนโต๊ะของทั้งคู่ มีอาหารอยู่เพียงสองจาน และเบียร์อีกสองกระป๋อง ผมคิดสงสัยอยู่ในใจว่า อาหารมื้อง่ายๆ อย่างนี้ จะทำให้เกิดบรรยากาศโรแมนติคขึ้นได้อย่างไร และ สาวน้อยคนนี้จะเลิกคบกับไอ้หนุ่มขี้เหนียวคนนั้นหรือไม่ มีหญิงสูงอายุสองสามคนนั่งอยู่อีกโต๊ะหนึ่ง เมื่อคนเสิร์ฟนำอาหารมาบริการ เขาจะทำการแบ่งอาหารให้แก่ลูกค้าเหล่านั้น และทุกคนจะกินอาหารจนหมดสิ้นไม่มีเศษ เหลืออยู่บนจานให้เห็น

      พวกเราไม่ได้ให้ความสนใจกับผู้คนเหล่านั้นมากนัก เพราะเรากำลังนั่งรออาหารหลายจานที่ได้สั่งไปแล้วด้วยความหิวโหย อาหารเสิร์ฟออกได้รวดเร็วดี คงเป็นเพราะภัตตาคารมีแขกน้อย เราใช้เวลาในการ กินอาหารเย็นมื้อนั้นไม่นานเพราะเรายังมีกิจกรรมอื่นรออยู่ ขณะที่เราลุกออกจากโต๊ะยังมีอาหารเหลือคาจานอยู่อีกราวหนึ่งในสาม ขณะที่เดินออกจากภัตตาคารเราได้ยินเสียงใครร้องทักให้หยุด เราหันมอง เห็นเป็น หญิงสูงอายุกลุ่มนั้นกำลังพูดกับเจ้าของภัตตาคารด้วยภาษาเยอรมัน เมื่อเขาเริ่มพูดกับเราเป็นภาษาอังกฤษเราจึงเข้าใจที่เขาไม่พอใจการกินทิ้งกินขว้างของพวกเรา เราออกอาการหงุดหงิดทันทีที่เขาเข้ามายุ่มย่ามเกิน กว่าเหตุ "พวกเราจ่ายค่าอาหารแล้ว ไม่ใช่กงการอะไรของพวกคุณสักหน่อย" เพื่อนของเราคนหนึ่งชื่อ กุย ( Gui) ตอกหน้าหญิงสูงอายุเหล่านั้น หญิงเหล่านั้นโกรธกริ้วเป็นฟืนเป็น ไฟขึ้นมาทันที หนึ่งในนั้นหยิบมือถือขึ้นมา ต่อสายถึงใครบางคน ไม่นานช้า ชายในชุดเครื่องแบบเจ้าหน้าที่องค์กรสวัสดิการสังคม ( Social Security organization) ก็มาปรากฏกาย ภายหลังจากฟังความจนรู้เรื่องว่า อะไรขึ้น เขาก็สั่งปรับพวกเราเป็นเงิน 50 มาร์ค

      พวกเราทุกคนต่างเงียบกริบ เพื่อนซึ่งพักอยู่ในเมืองนี้หยิบเงิน 50 มาร์คส่งให้ไปพร้อมกล่าวขอโทษขอโพยซ้ำๆ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นกล่าวกับเรา ด้วยน้ำเสียงที่เข้มงวดว่า "สั่งอาหารเท่าที่พวกคุณจะกินได้หมด เงินทองเป็นของคุณก็จริง แต่ทรัพยากรเป็นสมบัติส่วนรวม มีคนอีกจำนวนมากในโลกนี้ที่อดอยากหิวโหย พวกคุณไม่มีเหตุผล ที่จะใช้ทรัพยากรอย่างทิ้งๆขว้างๆ" สีหน้าพวกเราเปลี่ยนเป็นสีแดง เราเห็นด้วยกับ คำพูดของเขาหมดหัวใจ ทัศนคติของผู้คนในประเทศร่ำรวยแห่งนี้ทำเอาพวกเราอับอายขายขี้หน้า เราต้องทบทวนพิจารณาตัวเองกันจริงๆ จังๆในประเด็นนี้

พวกเรามาจากประเทศด้อยพัฒนาที่มีทรัพยากรไม่อุดมสมบูรณ์นัก แต่เพื่อปกปิดปมด้อยเหล่านี้ เราจึงสั่งอาหารมามากมาย และจงใจให้เหลือในยามจัดเลี้ยงผู้อื่น บทเรียนนี้สอนเราให้คิดอย่างจริงจังเพื่อที่จะ ปรับเปลี่ยนนิสัยไม่ดีเหล่านี้ เพื่อนผู้จ่ายค่าปรับถ่ายสำเนาใบเสร็จค่าปรับแล้วมอบให้พวกเราทุกคน พวกเราทุกคนรับเก็บไว้โดยดุษณี และนำแปะไว้ข้างฝา เพื่อเตือนใจตลอดไปว่า

เราจะไม่ทำตัวเป็นคน "กินทิ้งกินขว้าง" อีกเด็ดขาด....

"Money is yours but resources belong to the society"
"
เงินทองเป็นของคุณก็จริง แต่ทรัพยากรนั้นเป็นสมบัติของสังคมส่วนรวม"

 

#ข้อคิดดีๆ
จาก : Ar Promrangsee
ภาพ : Google